วันอังคารที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2558

สัปดาห์ที่ 12

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันอังคารที่ 31มีนาคม พ.ศ. 2558 
เลขที่ 18  รหัส 5511200874 กลุ่ม 103 


วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน
เนื่องจากอาจารย์ให้พวกเราไปช่วยงานกีฬาสี
"กลุ่มของพวกเราช่วยกันทำพู่ค่ะ"  


                                                  



วันอังคารที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2558

สัปดาห์ที่ 11

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันอังคารที่ 24มีนาคม พ.ศ. 2558 
เลขที่ 18  รหัส 5511200874 กลุ่ม 103 


สัปดาห์นี้ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากสอบเก็บคะแนน
สอบข้อเขียน 5 ข้อ ข้อละ 2 คนแนน รวมเก็บ 10 คะแนน 



วันพุธที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2558

สัปดาห์ที่ 10

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันอังคารที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2558 
เลขที่ 18  รหัส 5511200874 กลุ่ม 103 


สิ่งที่ได้รับในวันนี้

วันนี้ได้เรียนในเรื่องการเสริมสร้างทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
ทักาะการช่วยเหลือตัวเอง
-เรียนรู้การดำรงชีวิตโดยอิสระให้มากที่สุด
-การกินอยู่
-การเข้าห้องน้ำ
-การแต่งตัว
-กิจวัตรต่างๆในชีวิตประจำวัน



การสร้างความอิสระ



-เด็กอยากช่วยเหลือตนเอง

-อยากทำงานตามความสามารถ

-เด็กเลียนแบบการช่วยเหลือตนเองจากเพื่อน เด็กที่โตกว่า และผู้ใหญ่
(เด็กจะเกิดการเรียนรู้ในสิ่งนั้นได้ง่ายจากการเลียนแบบเด็กที่โตกว่าเช่นการเห็นพี่ผูกเชือกรองเท้าเค้าก็อยากทำบ้างโดยการผูกผิดผูกถูกแต่เป็นการเรียนรู้ด้วยตนเอง)

        ความสำเร็จเป็นสิ่งสำคัญ
-การได้ทำด้วยตนเอง
-เชื่อมั่นในตนเอง
-เรียนรู้ความรู้สึกที่ดี
หัดให้เด็กทำเอง
-ไม่ช่วยเหลือเกินความจำเป็น (ใจแข็ง)
-ผู้ใหญ่มักทำสิ่งต่างๆให้เด็กมากเกินไป
-ทำให้แม้กระทั่งสิ่งที่เด็กสามารถทำได้เองหากให้เวลาเขาทำ•“ หนูทำช้า ”  “ หนูยังทำไม่ได้ ”        
จะช่วยเมื่อไหร่
-เด็กก็มีบางวันที่ไม่อยากทำอะไร , หงุดหงิด , เบื่อ , ไม่ค่อยสบาย
-หลายครั้งเด็กจะขอความช่วยเหลือในสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว
-เด็กรู้สึกว่ายังมีผู้ใหญ่ที่พึ่งได้ แต่ต้องได้รับความช่วยเหลือเฉพาะสิ่งที่เด็กต้องการ
-มักช่วยเด็กในช่วงกิจกรรม

ทักษะการช่วยเหลือตนเอง (อายุ 2-3 ปี)

      
ทักษะการช่วยเหลือตนเอง (อายุ 3-4 ปี)




ทักษะการช่วยเหลือตนเอง (อายุ 4-5 ปี)


ทักษะการช่วยเหลือตนเอง (อายุ 5-6 ปี)


ลำดับขั้นในการช่วยเหลือตนเอง 

-บ่งทักษะการช่วยเหลือตนเองออกเป็นขั้นย่อยๆ
-รียงลำดับตามขั้นตอน

การเข้าส้วม

เข้าไปในห้องส้วม
ดึงกางเกงลงมา
ก้าวขึ้นไปนั่งบนส้วม
ปัสสาวะหรืออุจจาระ
ใช้กระดาษชำระเช็ดก้น
•ทิ้งกระดาษชำระในตะกร้า
กดชักโครกหรือตักน้ำราด
ดึงกางเกงขึ้น
ล้างมือ
เช็ดมือ
เดินออกจากห้องส้วม

การวางแผนทีละขั้น    -ยกกิจกรรมเป็นขั้นย่อยๆให้มากที่สุด

                                                                                                                                         สรุป
•ครูต้องพยายามให้เด็กทำสิ่งต่างๆด้วยตนเอง
•ย่อยงานแต่ละอย่างเป็นขั้นๆ
•ความสำเร็จขั้นเล็กๆนำไปสู่ความสำเร็จทั้งมวล
•ช่วยให้เด็กมีความมั่นใจในตนเอง
•เด็กพึ่งตนเองได้ รู้สึกเป็นอิสระ

กิจกรรมในวันนี้

อาจารย์ให้เราหยิบสีเทียนคนละแท่งแล้วให้ระบายสีเป็นวงกลมวงไปเลื่อยๆแล้วให้เปลี่ยนสีแล้วแต่ว่าแต่ละคนจะระบายวงเล็กหรือวงใหญ่จากนั้นให้ตัดเป็นวงกลมและไปแปะที่ต้นไม้ว่าห้องเราจะออกมาเป็นแบบไหน



                                 





ผลงาน


ประเมินตนเอง
วันนี้มาเรียนตรงต่อเวลา ตั้งใจฟังในสิ่งที่อาจารย์สอน ชอบการที่อาจารย์นำกิจกรรมไร่สตอเบอรี่มาทายตอนต้นชัวโมงมากค่ะ
ประเมินเพื่อน
เพื่อนทุกคนตั้งบใจเรียนและโต้ตอบกับอาจารย์เป็นอย่างดี มีดารให้ความร่วมมือและช่วยเหลือในการทำกิจกรรมอย่างดีค่ะ
ประเมินอาจารย์
วันนี้อาจารย์น่ารักมากค่ะ นำสีมาแจกพวกเราด้วยและมีการนำสู่บทเรียนที่ดี และตอนท้ายชั่วโมงในการทำกิจกรรมชอบมากค่ะ เป็นการให้สาระความรู้ได้หลายอย่างเกี่ยวกับเรื่องที่เรียน และสามารถนำไปทำสื่อ หรือใช้จัดซุ้มสวยๆได้อีกด้วยค่ะ ขอบคุณมากนะคะที่เอาการสอนหลายๆรูปแบบมาสอน









วันพุธที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2558

สัปดาห์ที่ 9

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันอังคารที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2558 
เลขที่ 18  รหัส 5511200874 กลุ่ม 103 

*วันนี้ไม่ได้มาเรียนค่ะเนื่อจากไปทำธุระกับแม่

เนื้อหาที่อาจารย์ได้สอนในวันนี้


การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ

ทักษะภาษา

การวัดความสามารถทางภาษา
-เข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูดไหม
-ตอบสนองเมื่อมีคนพูดด้วยไหม
-ถามหาสิ่งต่างๆไหม
-บอกเล่าเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นไหม
-ใช้คำศัพท์ของตัวเองกับเด็กคนอื่นไหม

การออกเสียงผิด / พูดไม่ชัด
-การพูดตกหล่น
-การใช้เสียงหนึ่งแทนอีกเสียง
-ติดอ่าง
การปฏิบัติของครูและผู้ใหญ่
-ไม่สนใจการพูดซ้ำหรือการออกเสียงไม่ชัด
-ห้ามบอกเด็กว่า  “พูดช้าๆ”   “ตามสบาย”   “คิดก่อนพูด”
-อย่าขัดจังหวะขณะเด็กพูด
-อย่าเปลี่ยนการใช้มือข้างที่ถนัดของเด็ก
-ไม่เปรียบเทียบการพูดของเด็กกับเด็กคนอื่น
-เด็กที่พูดไม่ชัดอาจเกี่ยวข้องกับการได้ยิน
ทักษะพื้นฐานทางภาษา
-ทักษะการรับรู้ภาษา
-การแสดงออกทางภาษา
-การสื่อความหมายโดยไม่ใช้คำพูด
พฤติกรรมตอบสนองการแสดงออกทางภาษา


พฤติกรรมเริ่มการแสดงออกของเด็ก


พฤติกรรมเริ่มการแสดงออกของเด็ก(ต่อ)



ความรับผิดชอบของครูปฐมวัย
-การรับรู้ภาษามาก่อนการแสดงออกทางภาษา
-ภาษาที่ไม่ใช่คำพูดมาก่อนภาษาพูด
-ให้เวลาเด็กได้พูด
-คอยให้เด็กตอบ (ชี้แนะหากจำเป็น)
-เป็นผู้ฟังที่ดีและโตต้อบอย่างฉับไว (ครูไม่พูดมากเกินไป)
-เด็กไม่ได้เรียนรู้ภาษาจากการฟังเพียงอย่างเดียว
-ให้เด็กทำกิจกรรมกลุ่ม เด็กพิเศษได้มีแบบอย่างจากเพื่อน
-กระตุ้นให้เด็กบอกความต้องการของตนเอง (ครูไม่คาดการณ์ล่วงหน้า)
-เน้นวิธีการสื่อความหมายมากกว่าการพูด
-ใช้คำถามปลายเปิด
-เด็กพิเศษรับรู้มากเท่าไหร่ ยิ่งพูดได้มากเท่านั้น
-ร่วมกิจกรรมกับเด็ก
การสอนตามเหตุการณ์  (Incidental Teaching)






ผลงานของเพื่อนๆในวันนี้ค่ะ




วันอังคารที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2558

สัปดาห์ที่ 8

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันอังคารที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2558 
เลขที่ 18  รหัส 5511200874 กลุ่ม 103 


สิ่งที่ได้รับในวันนี้

วันนี้เริ่มต้นชัวโมงด้วยการที่อาจารย์ให้พวกเราตอบคำถามด้วยการที่อาจารย์เล่าแล้วให้คำถามกับพวกเราและให้พวกเราตอบคำตอบที่เราคิดเป็นสิ่งแรก





การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ

ทักษะทางสังคม
- เด็กพิเศษที่ขาดทักษะทางสังคม ไม่ได้มีสาเหตุมาจากพ่อแม่
- การอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่ดีไม่ได้เป็นเครื่องรับประกันว่าเด็กจะมีพัฒนาการต่างๆอย่างมีความสุข
(สภาพแวดล้อมไม่ได้ส่งผลกับเด็กขึ้นอยู่กับตัวบุคคล)

กิจกรรมการเล่น
- การเล่นเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการเรียนรู้ทักษะทางสังคม
- เด็กจะสนใจกันเองโดยอาศัยการเล่นเป็นสื่อ
- ในช่วงแรกๆ เด็กจะไม่มองเด็กเป็นเด็กคนอื่นเป็นเพื่อน แต่เป็นอะไรบางอย่างที่น่าสำรวจ สัมผัส ผลัก ดึง (เด็กพิเศษจะเล่นโดนการจากเพื่อน /การเลียนแบบ)

ยุทธศาสตร์การสอน
- เด็กพิเศษหลายๆคนไม่รู้วิธีเล่น  ไม่รู้ว่าจะเล่นอย่างไร
- ครูเริ่มต้นจากการสังเกตเด็กแต่ละคนอย่างเป็นระบบ
- จะบอกได้ว่าเด็กมีทักษะการเล่นแบบใดบ้าง
- ครูจดบันทึก
- ทำแผน IEP
(ครูต้องสังเกตเด็กอย่างมีระบบและจดบันทึกไว้เสมอ)
การกระตุ้นการเลียนแบบและการเอาอย่าง
- วางแผนกิจกรรมการเล่นไว้หลายๆอย่าง
- คำนึงถึงเด็กทุกๆคน
- ให้เด็กเล่นเป็นกลุ่มเล็กๆ 2-4 คน (เด็กปกติ 3 คน เด็กพิเศษ 1 คน)
เด็กปกติทำหน้าที่เหมือน “ครู” ให้เด็กพิเศษ
ครูปฏิบัติอย่างไรขณะเด็กเล่น
- อยู่ใกล้ๆ และเฝ้ามองอย่างสนใจ
- ยิ้มและพยักหน้าให้ ถ้าเด็กหันมาหาครู
- ไม่ชมเชยหรือสนใจเด็กมากเกินไป
- เอาวัสดุอุปกรณ์มาเพิ่ม เพื่อยืดเวลาการเล่น
- ให้ความคิดเห็นที่เป็นแรงเสริม


ในการจัดกิจกรรมให้กับเด็กครูควรค่อยๆหย่อนของ (สื่อ)ให้เด็กเล่นทีละชิ้น
เพื่อให้เด็กได้รู้สึกสนุกสนานและมีความน่าสนในในการเล่น
เป็นการยืดหยุ่นเวลาในการเล่นให้กับเด็กเพื่อให้เด็กได้เล่นกับเพื่อนได้นานขึ้น
(ทักษะทางสังคมของเด็ก/ช่วยมึงสมาธิให้กับเด็กอีกด้วย

การให้แรงเสริมทางสังคมในบริบทที่เด็กเล่น
- ครูพูดชักชวนให้เด็กร่วมเล่นกับเพื่อน
- ทำโดย “การพูดนำของครู”


ช่วยเด็กทุกคนให้รู้กฎเกณฑ์
-ไม่ง่ายสำหรับเด็กพิเศษ
-การให้โอกาสเด็ก
-เด็กพิเศษต้องเรียนรู้สิทธิต่างๆเหมือนเพื่อนในห้อง
-ครูต้องไม่ใช้ความบกพร่องของเด็กพิเศษเป็นเครื่องต่อรอง


อาจารย์ให้ร้องเพลงพร้อมอาจารย์ 5 เพลงวันนี้



กิจกรรมในวันนี้

- อาจารย์แจกกระดาษกับสีเทียนให้จับคู่กันสองคน
-โดยมีคนหนึ่งจุดอีกคนหนึ่งลากเส้น
-ฟังเพลงและลากเส้นตามที่ได้ยินจากเพลงเพื่อนอีกคนหนึ่งจุดตามวงกลมที่เพื่อนลากเส้น

ภาพกิจกรรม

                           

ผลงานของคู่หนู



ผลงานของเพื่อน







ประเมินตนเอง
วันนี้ได้ตั้งใจเรียน ตั้งใจฟังในสิ่งงที่อาจารย์สอน แต่ก้มีแอบคุยบ้าง 

ประเมินเพื่อน
เพื่อนๆทุกคนวันนี้ตั้งใจเรียนตอบคำถามอาจารย์ได้ดีมาก

ประเมินอาจารย์
วันนี้อาจารย์น่ารักมากค่ะ มีการสอนที่ดีมีการให้พวกเราทำกิจกรรมวาดเส้นแล้วจุดไปตามเสียงเพลง  ชอบมากค่ะ