วันอังคารที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

สัปดาห์ที่ 6

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันอังคารที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 
เลขที่ 18  รหัส 5511200874 กลุ่ม 103 


สิ่งที่ได้รับในวันนี้


           วันนี้อาจารย์สอน เรื่อง "การสอนเด็กพิเศษและเด็กษปกติ" โดยมีหัวข้อที่ได้ดังนี้

ทักษะของครูและทัศนคติ


การเข้าใจภาวะปกติ
-เด็กมักคล้ายคลึงกันมากกว่าแตกต่าง
-ครูต้องเรียนรู้ มีปฎิสัมพันธ์กับเด็กปกติและเด็กพิเศษ
-รู้จักเด็กแต่ละคน    (เมื่อเราไปเป็นครูเราจำเป็นต้องจำชื่อเด็กได้ทุกคน ชื่อจริง/ชื่อเล่น และนามสกุลของเด็กได้)
มองเด็กให้เปนเด็ก

การคัดแยกเด็กที่มีพัฒนาการช้า
-การเข้าใจพัฒนาการของเด็ก จะช่วยให้ครูสามารถมองเห็นความแตกต่างของเด็กแต่ละคนได้ง่าย
   (นำไปเขียนแผน IPE )

ทัศนคติของครู

ความยืดหยุ่น
-การแก้แผนให้เหมาะสมกับสถานการณ์ 
-ยอมรับขอบเขตความสามารถของเด็ก
-ครูต้องตอบสนองต่อเป้าหมายที่สำคัญที่สุดสำหรับเด็กแต่ละคน

การใช้สหวิทยาการ
- ใจกว้างต่อคำแนะนำของบุคคลในอาชีพอื่นๆ
- สร้างความสัมพันธ์ระหว่างการบำบัดกับกิจกรรมในห้องเรียน

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเรียนรู้

เด็กทุกคนสอนได้
- เด็กเรียนไม่ได้เพราะไร้ความสามารถ
- เด็กเรียนไม่ได้เพราะขาดโอกาส


แรงเสริมทางสังคมจากผู้ใหญ่
- ความสนใจจากผู้ใหญ่ที่มีต่อเด็กนั้นสำคัญมาก
- มีแนวโน้มจะเพิ่มพฤติกรรมที่ดีของเด็ก และมักเป็นผลในทันที
- หากผู้ใหญ่ไม่สนใจพฤติกรรมที่ดีนั้นๆก็จะลดลงและหายไป

หลักการให้แรงเสริมในเด็กปฐมวัย
- ครูต้องให้แรงเสริมทันทีที่เด็กมีพฤติกรรมอันพึงประสงค์
- ครูต้องละเว้นความสนใจทันทีและทุกครั้งที่เด็กแสดงพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์
- ครูควรให้ความสนใจเด็กนานเท่าที่เด็กมีพฤติกรรมที่พึ้งประสงค์

การแนะนำหรือบอกบท ( Prompting )
- ย่อยงาน
- ลำดับความยากง่ายของงาน
- การลำดับงานเป็นการเสริมแรงเพื่่อให้เด็กค่อยๆก้าวไปสู่ความสำเร็จ
- การบอกบทจะค่อยๆน้อยลงตามลำดับ

ขั้นตอนการให้แรงเสริม
- สังเกตและกำหนดจุดมุ่งหมาย
- วิเคราะห์งาน กำหนดจุดประสงค์ย่อยๆในงานแต่ล่ะขั้น
- สอนจากง่ายไปยาก
- ให้แรงเสริมทันทีเมื่อเด็กพยายามอย่างเหมาะสม
- ลดการบอกบท เมื่อเด็กเรียนรู้ที่จะก้าวไปในขั้นต่อไป
- ให้แรงเสริมเฉพาะพฤติกรรมที่ใกล้เคียงกับเป้าหมายมากที่สุด
- ทีล่ะขั้นไม่เร่งรัด "ยิ่งขั้นเล็กเท่าไร ยิ่งดีเท่านั้น"
- ไม่ดุ หรือ ตี

การกำหนดเวลา
- จำนวนและความถี่ของแรงเสริมที่ให้กับพฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็กต้องมีความเหมาะสม

ความต่อเนื่อง
- พฤติกรรมทุกๆอย่างในชีวิตประจำวันต่อเนื่องกันระหว่างพฤติกรรมย่อยๆ หลายๆอย่างรวมกัน เช่น การเข้าห้องน้ำ การนอนพักผ่อน 
- สอนแบบก้าวไปข้างหน้า หรือย้อนมาจากข้างหลัง

เด็กตักซุป
- การจับช้อน
- การตัก
- การระวังไม่ให้น้ำในช้อนหกก่อนที่จะเข้าปาก
- การเอาช้อนและซุปเข้าปากแทนที่จะทำให้หกรดคาง
-  การเอาซุปออกจากช้อนเข้าสู่ปาก

การลดหรือหยุดแรงเสริม
- ครูจะงดเสริมแรงกับเด็กที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม
- ทำอย่างอื่นและไม่สนใจเด็ก
- เอาอุปกรณ์หรือของเล่นออกจากเด็ก
- เอาเด็กออกจากการเล่น
(ความคงเส้นคงวา = ปลายเทอมครูควรสอนให้ได้อย่างตอนต้นเทอม)


หลังจากสอนเนื้อหาเส็จอาจารย์เบียร์ก็ได้ให้ร้องเพลง 5 เพลง และให้นำกลับไปซ้อมร้องที่บ้านด้วย

ภาพการเรียนการสอนในวันนี้



ประเมินตนเอง
 วันนี้มาเรียนต่อต่อเวลา ตั้งใจฟังในสิ่งที่อาจารย์สอน มีแอบคุยแอบเล่นกับเพื่อนบ้าง
ประเมินเพื่อน
เพื่อนๆทุกคนตั้งใจเรียน ตั้งใจฟังในสิ่งที่อาจารย์ ทุกคนพยายามร้องเพลงให้ตรงคลีที่สุด
ประเมินอาจารย์
วันนี้อาจารย์รีบสอนในเนื้อหาให้พวกเราเต็มที่และปล่อยไวเพื่อให้พวกเราไปทานข้าวก่อนเข้าประชุม อาจารย์น่ารักมากเลยค่ะ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น