บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันอังคารที่ 27 มาราคม พฤศจิกายน พ.ศ. 2558
เลขที่ 18 รหัส 5511200874 กลุ่ม 103
สิ่งที่ได้รับในวันนี้
วันนี้อารจารย์เบียร์ได้สอนเนื้อหาเกี่ยวกับการศึกษาแบบเรียนรวมอยุ่ 2 เรื่อง ก็คือ
1.การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวม
2.บทบาทครูปฐมวัยในห้องเรียน
รูปแบบการจัดการศึกษา
แบ่งออกเป็น 4 ประเภท
- การศึกษาปกติทั่วไป (Regular Education)
- การศึกษาพิเศษ (Special Education)
- การศึกษาแบบเรียนร่วม (Integrated Education หรือ Mainstreaming)
- การศึกษาแบบเรียนรวม (Inclusive Education)
การศึกษาแบบเรียนร่วม
การเรียนร่วม หรือการจัดการศึกษาโดยรวม (Inclusive Education) เป็นแนวคิดในการจัดการศึกษาที่โรงเรียนจะต้องจัดการศึกษาให้กับเด็กทุกคน โดยไม่มีการแบ่งแยกว่าเด็กคนใดเป็นเด็กปกติ หรือเป็นเด็กที่มีความต้องการพิเศษเด็กทุกคนที่ผู้ปกครองพามาเข้าเรียน ทางโรงเรียนจะต้องรับเด็กและจะต้องจัดการศึกษาให้เขาอย่างเหมาะสม เพื่อส่งเสริมให้เด็กเหล่านี้ได้มีโอกาสเรียนรู้ตามรูปแบบที่เหมาะสม โดยคำนึงถึงความสามารถของบุคคลนั้น ให้สามารถดำรงชีวิตในสังคมอย่างปกติสุข การจัดการเรียนร่วมระหว่างเด็กที่มีความต้องการพิเศษกับเด็กปกติ
การศึกษาแบบเรียนรวมมี 2 วิธี ดังนี้ค่ะ
|
1.การศึกษาร่วมบางเวลา
|
2.การศึกษาร่วมแบบเต็มเวลา
การศึกษาแบบเรียนรวม ( Inclusive Education ) หมายถึง การศึกษาสำหรับเด็กทุกคน จัดให้บริการพิเศษตามความต้องการของเด็กแต่ละคน รับเด็กเข้ามาเรียนร่วมตั้งเเต่เริ่มเข้ารับการศึกษา โดยมีผู้ปกครอง พ่อแม่ และครูเป็นผู้ดูแล ต่างฝ่ายต่างเข้าหาซึ่งกันเเละกัน เด็กปกติจะเข้าใจว่ามนุษย์ต้องมีความเท่าเทียมกัน ต้องเข้าใจว่าเพื่อนทุกคนมีความเท่าเทียมกัน
ความหมายของการศึกษาแบบเรียนรวม
- เป็นการจัดการศึกษาที่จัดให้เด็กพิเศษเข้ามาเรียนรวมกับเด็กปกติ โดยรับเข้ามาเรียนรวมกัน
- เด็กพิเศษทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ถ้าได้รับโอกาสในการเรียนรู้เหมาะสมกับความพิเศษของเขา
- การเรียนรวมเป็นแนวทางการศึกษาอย่างหนึ่งที่โรงเรียนจะต้องจัดการศึกษาให้กับเด็กทุกคนโดยไม่แบ่งแยก
เด็กจะเป็นฝ่ายเลือกโรงเรียนไม่ใช่โรงเรียนเลือกเด็ก
ความสำคัญของการศึกษาเเบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย - เด็กปฐมวัยเป็นช่วงเวลาที่สำคัญที่สุดของการเรียนรู้ - เป็นการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษที่มีขีดจำกัดน้อยที่สุด
การศึกษาเเบบเรียนรวมเป็นการศึกษาสำหรับเด็กทุกคน
และเด็กทุกคนจะต้องได้รับการศึกษาตั้งเเต่ขั้นต้น
และไม่ลืมว่าเด็กเเต่ละคนมีความต้องการที่เเตกต่างกันเฉพาะบุคคล
คนเป็นครูต้องเข้าใจและเปิดใจด้วย คนเป็นครูต้องเปิดโอกาสทุกด้าน
เพราะจะทำให้เด็กเกิดการพัฒนาเต็มตามศักยภาพ
การประเมินพัฒนาการเด็ก
การประเมินพัฒนาการและการเรียนรู้เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาเด็กปฐมวัย เป็นกระบวนการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมและความสามารถของเด็กในด้านต่างๆ ทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพอย่างต่อเนื่อง แล้วนำมาเรียบเรียงอย่างเป็นระบบเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจเกี่ยวกับเด็กหรือการจัดประสบการณ์ให้แก่เด็ก การประเมินพัฒนาการและการเรียนรู้เป็นสิ่งที่ควรเกิดขึ้นควบคู่ไปกับการจัดประสบการณ์ตามปกติในกิจวัตรประจำวัน ครูที่ประเมินอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบจะสามารถใช้หลักสูตรและจัดประสบการณ์ได้อย่างเหมาะสมกับวัย และความแตกต่างระหว่างบุคคลของเด็ก
หลักการประเมินพัฒนาการของเด็ก หลักการประเมินพัฒนาการของเด็กตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 มีดังนี้ 1. ประเมินพัฒนาการของเด็กครบทุกด้านและนำผลมาพัฒนาเด็ก 2. ประเมินเป็นรายบุคคลอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่องตลอดปี 3. สภาพการประเมินควรมีลักษณะเช่นเดียวกับกิจกรรมประจำวัน 4. ประเมินอย่างเป็นระบบ มีการวางแผนเลือกใช้เครื่องมือ และจดบันทึกไว้เป็นหลักฐาน 5. ประเมินตามสภาพจริงด้วยวิธีการหลากหลายเหมาะกับเด็ก รวมทั้งใช้แหล่งข้อมูลหลายๆ ด้าน ไม่ควรใช้การทดสอบ
เพลงเด็ก 5 เพลง ประจำวันนี้
ภาพดอกชบาที่อ.เบียรืให้วาด
|
|
ประเมินตนเอง
วันนี้ได้ตั้งใจเรียน ตั้งใจฟังในสิ่งงที่อาจารย์สอน แต่ก้มีแอบคุยบ้าง แล้วได้ตัวปั๊มรางวัลเด็กดีที่ไปเปลี่ยนสีผมมาดีใจมากค่ะ
ประเมินเพื่อน
เพื่อนๆทุกคนวันนี้ตั้งใจเรียนตอบคำถามอาจารย์ได้ดีมากจนอาจารย์ชม
ประเมินอาจารย์
วันนี้อาจารย์น่ารักมากค่ะ มีการสอนที่ดีมีการให้พวกเราทำกิจกรรมวาดรูปดอกชบา ชอบมากค่ะ