วันพฤหัสบดีที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2558

สัปดาห์ที่ 16

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันอังคารที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2558 
เลขที่ 18  รหัส 5511200874 กลุ่ม 10


สิ่งที่ได้รับในวันนี้

วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาทุกคนสอบร้องเพลง
(เพลงที่จับได้)
เพลง ดื่มนม
        นมเป็นอาหารดี มีคุณค่าต่อร่างกาย
ดื่มแล้วชื่นใจ ร่างกายแข็งแรง
          ยังมีนมถั่วเหลือง ดื่มได้ดีและไม่แพง
 ดื่มแล้วชื่นใจ ร่างกายแข็งแรง


(รางวัลเด็กดีมาเรียนครบหนูไม่ค่อยมีดวงด้านนี้ แต่เรื่องจับฉลากแจกของดวงหนูมีเยอะค่ะ ขอบคุณปากกาสวยๆ)

ปิดคร์อส การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย



***************

ประเมินตนเอง
วันนี้ร้องเพลงได้ผิดคลีมากค่ะ แต่รู้สึกสนุกมากกับการร้องเพลงวันนี้

ประเมินเพื่อน
เพื่อนๆทุกคนวันนี้ฟัง ตั้งใจร้องเพลง แลพช่วยเพื่อนคนที่ร้องไม่ได้

ประเมินอาจารย์
วันนี้อาจารย์น่ารักมากค่ะ มีการให้คะแนนที่นึกถึงความพยายามของเด็ก ทำให้พวกหนูมีกำลังใจในการเรียนมากค่ะ ขอบคุณสำหรับหารซุ่มจับฉลากได้หมายเลข 18 นะ ชอบปากกาช้างมากค่ะน่ารักดี

วันอังคารที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2558

สัปดาห์ที่ 15

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันอังคารที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2558 
เลขที่ 18  รหัส 5511200874 กลุ่ม 103 
สิ่งที่ได้รับในวันนี้

วันนี้อาจารย์เบียร์สอนเรื่อง แผน IEP แล้วก็ให้เราดูตัวอย่างการเขียนแผน แล้วให้พวกเราจับกลุ่ม 4-5 คน ในการเขียนแผน IEP ของเพื่อนในกลุ่มเรา 
มีเนื้อหาในการสอนดังนี้ค่ะ


แผน IEP
-แผนการศึกษาที่ร่างขึ้น
-เพื่อให้เด็กพิเศษแต่ละคนได้รับการสอน และการช่วยเหลือฟื้นฟูให้เหมาะสมกับความต้องการและความ
   สามารถของเขา
-ด้วยการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก
-โดยระบุเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดการใช้แผนและวิธีการวัดประเมินผลเด็ก
การเขียนแผน IEP
-คัดแยกเด็กพิเศษ
-ครูต้องรู้ว่าเด็กมีปัญหาอะไร
-ประเมินพัฒนาการเด็กเป็นระยะ จะทำให้ทราบว่าจะต้องเริ่มช่วยเหลือเด็กจากจุดไหน ในทักษะใด
-เด็กสามารถทำอะไรได้  / เด็กไม่สามารถทำอะไรได้
-แล้วจึงเริ่มเขียนแผน IEP                                                                                                    
IEP ประกอบด้วย
-ข้อมูลส่วนตัวของเด็ก
-ระบุว่าเด็กมีความจำเป็นต้องได้รับบริการพิเศษอะไรบ้าง
-การระบุความสามารถของเด็กในขณะปัจจุบัน
-เป้าหมายระยะยาวประจำปี / ระยะสั้น
-ระบุวัน เดือน ปี ที่เริ่มทำการสอน และคาดคะเนการสิ้นสุดของแผนวิธีการประเมินผล
IEP ประกอบด้วย
-ข้อมูลส่วนตัวของเด็ก
-ระบุว่าเด็กมีความจำเป็นต้องได้รับบริการพิเศษอะไรบ้าง
-การระบุความสามารถของเด็กในขณะปัจจุบัน
-เป้าหมายระยะยาวประจำปี / ระยะสั้น
-ระบุวัน เดือน ปี ที่เริ่มทำการสอน และคาดคะเนการสิ้นสุดของแผนวิธีการประเมินผล
ประโยชน์ต่อเด็ก
-ได้เรียนรู้ตามความสามารถของตน
-ได้มีโอกาสพัฒนาตามศักยภาพของตน
-ได้รับการศึกษาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม
-ถ้าเด็กเข้าเรียนในโรงเรียนจะไม่ถูกจัดเข้าชั้นเรียนเฉยๆ
ประโยชน์ต่อครู
-เป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่ตรงกับความสามารถและความต้องการของเด็ก
-เป็นแนวทางในการเลือกสื่อการสอนและวิธีการสอนให้เหมาะกับเด็ก
-ปรับเปลี่ยนได้เมื่อความต้องการเปลี่ยนแปลงไป
-เป็นแนวทางในการประเมินผลการเรียนและการเขียนรายงานพัฒนาการความก้าวหน้าของเด็ก
-ตรวจสอบและประเมินได้เป็นระยะ
ประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
-ได้มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนการเรียนรายบุคคล เพื่อให้เด็กได้พัฒนาความสามารถได้สูงสุดตามศักยภาพ
-ทราบร่วมกับครูว่าจะฝึกลูกของตนอย่างไร
-เกิดความร่วมมือในการพัฒนาเด็ก มีการติดต่อสื่อสารกันอย่างต่อเนื่อง และใกล้ชิดระหว่างบ้านกับโรงเรียน

ขั้นตอนการจัดทำแผนการศึกษารายบุคคล
1. การรวบรวมข้อมูล
-รายงานทางการแพทย์
-รายงานการประเมินด้านต่างๆ
-บันทึกจากผู้ปกครอง ครู และผู้ที่เกี่ยวข้อง
2. การจัดทำแผน
-ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง
-กำหนดจุดมุ่งหมายระยะยาวและระยะสั้น
-กำหนดโปรแกรมและกิจกรรม
-จะต้องได้รับการรับรองแผนการศึกษาเฉพาะบุคคลจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
การกำหนดจุดมุ่งหมาย
-ระยะยาว
-ระยะสั้น
จุดมุ่งหมายระยะยาว
-กำหนดให้ชัดเจน แม้จะกว้าง
น้องนุ่นช่วยเหลือตนเองได้
น้องดาวร่วมมือกับผู้อื่นได้ดีขึ้น
น้องริวเข้ากับเพื่อนคนอื่นๆได้
จุดมุ่งหมายระยะสั้น
-ตั้งให้อยู่ภายใต้จุดมุ่งหมายหลัก
-เป็นพฤติกรรมที่เด็กสามารถทำได้ในระยะ 2-3 วัน หรือ 2-3 สัปดาห์
*********************************************************************
-จะสอนใคร
-พฤติกรรมอะไร
-เมื่อไหร่ ที่ไหน (ที่พฤติกรรมนั้นจะเกิด)
-พฤติกรรมนั้นต้องดีขนาดไหน
*********************************************************************


 ******************************
******************************
3. การใช้แผน
-เมื่อแผนเสร็จสมบูรณ์ ครูจะนำไปใช้โดยจะใช้แผนระยะสั้น
-นำมาทำเป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
-แยกย่อยขั้นตอนการสอนให้เหมาะกับเด็ก
-จัดเตรียมสื่อและจัดกิจกรรมการเรียนการสอน

ต้องมีการสังเกตเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเด็กและความสามารถ โดยคำนึงถึง
1.ขั้นตอนพัฒนาการของเด็กปกติ
2.ตัวชี้วัดพื้นฐานที่เกี่ยวกับปัญหาของพัฒนาการเด็ก
3.อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมของเด็กและผู้ใหญ่ที่มีผลต่อการแสดงออกของเด็ก




กิจกรรมการเขียนแผน IEP


อาจารย์ได้ให้แบ่งกลุ่มกลุ่มละ 4-5 คน ในงานเขียนแผนหนึ่งแผน โดยให้เลือเพื่อนในกลุ่มมา 1 คน 
แล้วบอกอาการที่จะเขียนลงในแผน กลุ่มของเรา เลือกลมวัลย์ นาควิเชียร อาการปัญญาอ่อน  *-*

***************************************************************************



ประเมินตนเอง
วันนี้ได้ตั้งใจเรียน ตั้งใจฟังในสิ่งงที่อาจารย์สอนเข้าใจบ้างงงบ้างกับการเขียน IPE 

ประเมินเพื่อน
เพื่อนๆทุกคนวันนี้ตั้งใจเรียนตอบคำถามอาจารย์ได้ดีมากและร่วมกันคิดแผนของแต่ละกลุ่มอย่างตั้งใจ

ประเมินอาจารย์
วันนี้อาจารย์ มีการสอนแผน IPE ที่เข้าใจและมีตัวอย่างในการเขียนแผนหลายตัวอย่างเพื่อให้เราได้ดูและเข้าใจในวิธีการเขียนแผนมากขึ้น




วันอังคารที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2558

สัปดาห์ที่ 14

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันอังคารที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2558 
เลขที่ 18  รหัส 5511200874 กลุ่ม 103 





วันนี้ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากเป็นวันสงกรานต์



วันอังคารที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2558

สัปดาห์ที่ 13

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันอังคารที่ 7  เมษายน พ. ศ. 2558
เลขที่ 18  รหัส 5511200874 กลุ่ม 103 

สิ่งที่ได้รับในวันนี้

วันนี้อาจารย์ได้สอนในเรื่องการส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
-ทักษะพื้นฐานทางการเรียน

เป้าหมาย
-การช่วยให้เด็กแต่ละคนเรียนรู้ได้ 
-มีความรู้สึกดีต่อตนเอง
-เด็กรู้สึกว่า “ฉันทำได้”
-พัฒนาความกระตือรือร้น อยากรู้อยากเห็น
-อยากสำรวจ อยากทดลอง
ช่วงความสนใจ
-ต้องมีก่อนการเรียนรู้อื่นๆ
-จดจ่อต่อกิจกรรมในช่วงเวลาหนึ่งได้นานพอสมควร
การเลียนแบบ
การทำตามคำสั่ง คำแนะนำ
-เด็กได้ยินสิ่งที่ครูพูดชัดหรือไม่
-เด็กเข้าใจคำศัพท์ที่ครูใช้หรือไม่
-คำสั่งยุ่งยากซับซ้อนไปหรือไม่
การรับรู้ การเคลื่อนไหว
-ได้ยิน เห็น สัมผัส ลิ้มรส กลิ่น


 -ตอบสนองอย่างเหมาะสม

ตัวอย่างอุปกรณ์สำหรับเด็กพิเศษ
-ลูกปัดไม้ขนาดใหญ่
-รูปต่อที่มีจำนวนชิ้นไม่มาก


************************************


ความจำ
-จากการสนทนา
-เมื่อเช้าหนูทานอะไร
-แกงจืดที่เรากินใส่อะไรบ้าง
-จำตัวละครในนิทาน
-จำชื่อครู เพื่อน
-เล่นเกมทายของที่หายไป
ทักษะคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์


การวางแผนการเตรียมพื้นฐานทางวิชาการ
-จัดกลุ่มเด็ก
-เริ่มต้นเรียนรู้โดยใช้ช่วงเวลาสั้นๆ
-ให้งานเด็กแต่ละคนอย่างชัดเจนว่าต้องทำที่ไหน
-ติดชื่อเด็กตามที่นั่ง
-ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย
-ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย
-บันทึกว่าเด็กชอบอะไรที่สุด
-รู้ว่าเมื่อไหร่จะเปลี่ยนงาน
-มีอุปกรณ์ไว้สับเปลี่ยนใกล้มือ
-เตรียมทุกอย่างให้พร้อมก่อนเด็กมาถึง
-พูดในทางที่ดี
-จัดกิจกรรมให้เด็กได้เคลื่อนไหว
-ทำบทเรียนให้สนุก
อาจารย์แจกแผ่นเพลงแล้วให้พวกเราไปหัดร้องมาเพราะสัปดาห์ต่อไปจะมีการสอยร้องเพลง



****
ท้ายชั่วโมงอาจารย์ได้เปิดวีดีโอเด็กพิเศษให้พวกเราดูกัน ซึ้งมากค่ะ น้องเป็นเด็กพิการที่ไม่มีแขนแต่น้องสามารถช่วยเหลือตนเองได้ทุกอย่าง ทำกิจวัตรประวันได้ด้วยตนเองโดยที่ไม่พึ้งใครเลย เก่งมากค่ะ ขอบคุณอาจารย์ที่มีวีดีโอสาระดีๆมาให้ดูนะคะ 




ประเมินตนเอง
วันนี้มาเรียนตรงต่อเวลา แต่ในการเรียนมีการคุยกับเพื่อนบ้างไม่ค่อยตั้งใจเท่าไรค่ะ แต่ดูเวดีโออย่างตั้งใจ
ประเมินเพื่อน
วันนี้เพื่อนๆทุกคนตั้งใจเรียนและจะเนื่อหาเพิ่มเติมบ้าง แต่คุยกันเสียงดังพอสมควรค่ะ
ประเมินอาจารย์
วันนี้อาจารย์มีเนื้อหาในการสอนที่ดี มีการนำวีดีดอมาให้พวกเราดู ชอบมากค่ะ